Hello world!

Welcome to WordPress.com. This is your first post. Edit or delete it and start blogging!

Posted in Uncategorized | 1 Comment

Business Cycles: New Keynesian VS Neo-Classic

วัฎจักรธุรกิจ (Business Cycles) หมายถึง ความผันผวนขึ้นลงของระดับผลผลิตมวลรวมของประเทศซึ่งอาจจะกินระยะเวลาหลายเดือนหรือหลายปี นักเศรษฐศาสตร์พยายามทำความเข้าใจถึงสาเหตุและวิธีการบรรเทาความผันผวนของวัฎจักรธุรกิจมากว่า 70 ปี สืบเนื่องต่อจากหนังสือ “The General Theory” ของ Sir John Maynard Keynes ในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ทั่วโลก (The great depression) ปัจจุบันแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับวัฎจักรธุรกิจได้ถูกแบ่งแยกออกเป็นสองสำนักหลัก คือ สำนักคลาสสิคใหม่ (Neo-classical school) และ ทฤษฎีของ สำนักเคนส์เซี่ยนใหม่ (New Keynesian School)

 

นักเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิคใหม่ เชื่อในการทำงานของกลไกตลาด ว่าราคาสินค้าจะสะท้อนความขาดแคน (Scarcity) โดยราคาสินค้าจะปรับตัวขึ้นลงได้อย่างเสรีจนกระทั่งอุปสงค์และอุปทานของสินค้าเท่ากันในทุกตลาด ในที่สุดเศรษฐกิจจะอยู่ในภาวะดุลยภาพทั่วไป (General equilibrium or Walrasian equilibrium) ตัวแปรที่แท้จริง (real variables) เช่น การจ้างงาน ผลผลิต ค่าจ้างที่แท้จริง อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง และราคาเปรียบเทียบ (relative prices) จะถูกกำหนดขึ้นจากอุปสงค์และอุปทานในภาวะดุลยภาพทั่วไปนี้เท่านั้น ในขณะที่ตัวแปรที่เป็นตัวเงิน (Nominal variables) เช่น ระดับราคา ค่าจ้างตัวเงิน อัตราดอกเบี้ยตัวเงิน จะถูกกำหนดขึ้นแยกออกไปจากดุลยภาพในตลาดเงิน (money market) การเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์และอุปทานในตลาดเงินจะกระทบก็เพียงแต่ตัวแปรเศรษฐกิจที่เป็นตัวเงินเท่านั้น หาได้มีผลกระทบต่อตัวแปรที่แท้จริงไม่ นั่นคือสำนักคลาสสิคใหม่มีข้อสรุปว่าเงินมีความเป็นกลาง” (Money is neutral) การดำเนินนโยบายการเงินโดยการลดหรือเพิ่มปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจไม่มีผลต่อการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของการว่างงานและระดับผลผลิตที่แท้จริง

 

ทฤษฎีวัฎจักรธุรกิจที่แท้จริง (Real business cycle theory) ของนักเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิคใหม่มีรากฐานและยึดมั่นอยู่บนแนวคิดดุลยภาพทั่วไป ดังนั้นปัจจัยที่จะกระทบต่อระดับผลผลิตและก่อให้เกิดวัฎจักรธุรกิจได้จะต้องเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในดุลยภาพทั่วไป นั่นคือ ปัจจัยที่แท้จริง (real forces) ที่ทำให้ (shift) เส้นอุปสงค์และอุปทานเคลื่อนสูงขึ้นหรือต่ำลง เช่น การใช้จ่ายของรัฐบาล การเปลี่ยนแปลงรสนิยมของผู้บริโภค เป็นต้น ทั้งนี้ทฤษฎีวัฎจักรธุรกิจที่แท้จริงให้ความสำคัญอย่างมากกับปัจจัยที่เรียกว่า ความผันผวนในระดับเทคโนโลยี (technological disturbance) ตัวอย่างเช่น การเพิ่มขึ้นของระดับเทคโนโลยีหมายความว่าเราสามารถผลิตผลผลิตได้มากขึ้นด้วยการใช้ปัจจัยการผลิตจำนวนเท่าเดิม ศาสตราจารย์ เอ็ดเวิร์ด เพรสคอทท์  (รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ปี 2004) ได้เสนอวิธีการวัดการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีโดยใช้อัตราการเปลี่ยนแปลงของผลผลิตลบด้วยค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (weighted average) ของอัตราการเปลี่ยนแปลงปัจจัยการผลิตแต่ละชนิด หรือที่เรียกว่า “Solow residual”

 

นอกจากจะยึดมั่นในดุลยภาพทั่วไปของระบบเศรษฐกิจและเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงในระดับเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการก่อให้เกิดวัฎจักรธุรกิจแล้ว นักทฤษฎีวัฎจักรธุรกิจที่แท้จริงมีข้อสมมติว่า ปัจจเจกชนแต่ละคนในระบบเศรษฐกิจจะมีการตัดสินใจแบบสมเหตุผล (rationality) มุ่งแสวงหาความพอใจสูงสุดจากการเลือกระหว่าง การบริโภค การทำงาน และการพักผ่อน ทดแทนกันแบบข้ามเวลา (intertemporal substitution) ตัวอย่างเช่น ในแบบจำลองแบร์โร (Barro, 1987) อธิบายว่า ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเกิดจากการลดลงในระดับเทคโนโลยีอย่างกระทันหัน (เช่น วิกฤติการณ์ราคาน้ำมันในยุค 1970) หมายความว่า แม้ว่าจะใช้แรงงานจำนวนเท่าเดิม แต่ปริมาณผลผลิตที่ผลิตได้ลดลง ซึ่งหมายความว่า ผลผลิตส่วนเพิ่มของแรงงาน(marginal product of labor) ลดลง ดังนั้น อัตราค่าจ้างที่แท้จริง (real wage) ก็จะลดลงด้วย (ในทางเศรษฐศาสตร์อัตราค่าจ้างที่แท้จริงจะเท่ากับผลผลิตส่วนเพิ่มของแรงงานหน่วยสุดท้าย, W/P = MPL) ปัจเจกชนแต่ละคนก็จะตอบสนองต่อการลดลงของค่าจ้างที่แท้จริงด้วยการตัดสินใจเลือกที่จะทำงานน้อยลง บริโภคน้อยลง และพักผ่อนมากขึ้น ซึ่งสามารถอธิบายถึงปรากฎการณ์การลดต่ำลงของการบริโภค ค่าจ้างที่แท้จริง การจ้างงาน และปริมาณผลผลิต ในช่วงเศรษฐกิจถดถอย นอกจากนั้นจากข้อสมมติที่ว่าการปรับตัวทางเศรษฐกิจดังกล่าวเกิดจากการตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผลและเป็นไปอย่างเหมาะสมที่สุด (rationally and optimally) ของปัจเจกชน นำไปสู่ข้อสรุปที่ว่า ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ การว่างงานเกิดจากการที่ประชาชนต้องการพักผ่อนมากขึ้นและบริโภคน้อยลง การว่างงานเป็นไปอย่างสมัครใจ การเข้าไปแทรกแซงของรัฐบาลเพื่อลดระดับการว่างงานและยกระดับผลผลิต อย่างดีที่สุดก็แค่ไม่ประสบผล หรือที่อันตรายที่สุดคือทำให้สวัสดิการของสังคมลดลง

 

ถึงแม้ว่าทฤษฎีวัฎจักรธุรกิจที่แท้จริงจะได้รับการสรรเสริญและบูชาจากอย่างมากในวงวิชาการว่ามีความสมบูรณ์ในด้านเทคนิค คือ มีรากฐานอยู่บนสมมติฐานการตัดสินใจแบบสมเหตุผลและดุลยภาพทั่วไปตามแบบของวอลราสซึ่งถูกใช้ในการเรียนการสอนกันอย่างแพร่หลายในห้องเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ตามมหาวิทยาลัยชั้นนำต่างๆทั่วโลก อย่างไรก็ตามมีนักเศรษฐศาสตร์กลุ่มหนึ่งรู้สึกไม่สบายใจกับข้อสรุปของที่ว่า การว่างงานเป็นไปอย่างสมัครใจและการตกต่ำของระดับผลผลิตนั้นเป็นไปอย่างเหมาะสมที่สุดแล้ว รัฐบาลไม่ควรเข้าไปแทรกแซงแต่อย่างใด ซึ่งดูจะขัดแย้งกับโลกแห่งความเป็นจริง นักเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์เซี่ยนอย่าง ศาสตราจารย์ เจมส์ โทบิน (รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ปี 1981) ถึงกับกว่าวว่า เป็นเรื่องน่าขันที่จะเชื่อว่าภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในช่วง 1930 เกิดจากการที่คนเราตัดสินใจพักผ่อนมากขึ้น

 

นักเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์เซี่ยนใหม่พยายามหักล้างแนวคิดของนักเศรษฐศาสร์สำนักนีโอคลาสสิค โดยพยายามอธิบายว่า อันที่จริงแล้วราคาสินค้าและค่าจ้างหาได้สามารถปรับตัวขึ้นลงได้อย่างเสรีไม่ โดยเสนอทฤษฎีอันมีรากฐานจากทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาคมาอธิบายปรากฎการณ์ค่าจ้างและราคาสินค้าแข็งตัว (Sticky wages and prices) อาทิเช่น ตลาดไม่มีการแข่งขันอย่างสมบูณ์ (imperfect competition) สัญญาการจ้างงานไม่ชัดแจ้ง (implicit contracts) โดย จอห์น เทย์เลอร์ ปัญหาความไม่สมบูรณ์ของข้อมูลข่าวสาร (Imperfect information) โดย จอร์จ อะเคอลอฟ และ ต้นทุนค่าพิมพ์เมนูใหม่ (menu cost) โดย เกรกอรี่ แมนคิว เป็นต้น เมื่อค่าจ้างและราคาไม่สามารถปรับตัวขึ้นลงอย่างเสรี ก็จะมีการว่างงานโดยไม่สมัครใจเกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ เท่ากับเป็นการเปิดช่องให้รัฐบาลสามารถเข้าไปแทรกแซงโดยใช้นโยบายการเงินการคลังเพื่อยกระดับการจ้างงานและผลผลิต

 

จะเห็นได้ว่าแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์ทั้งสองสำนักนั้นแตกต่างกันอย่างสุดขั้ว ต่างฝ่ายต่างยึดมั่นในรากฐานทฤษฎีของตนราวกับปลาคนละน้ำ สำนักคลาสสิคยึดมั่นในการทำงานของกลไกราคา ในขณะที่สำนักเคนส์เซี่ยนใหม่ราคาสินค้าไม่ยืดหยุ่นปรับตัว ทฤษฎีวัฎจัรธุรกิจที่แท้จริงของสำนักคลาสสิคใหม่มีจุดแข็งในเรื่องความสมบูรณ์ในทางทฤษฎี (Internal consistency) แต่ไม่สามารถอธิบายปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นจริงบางอย่างได้ ในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์เซี่ยนใหม่เสนอทฤษฎีที่สามารถให้คำอธิบายปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นจริงได้อย่างใกล้เคียง (external consistency) แต่ยังไม่สามารถทำลายความน่าเชื่อถือของกลไกราคาและความสมบูณ์ของแนวคิดดุลยภาพทั่วไปซึ่งฝังรากลึกอยู่ในแวดวงเศรษฐศาสตร์มากกว่า 200 ปี การโต้แย้งระว่างสองสำนักเป็นอย่างรุนแรงมาตลอดกว่า 50 ปีที่ผ่านมา จนไม่มีวี่แววว่าทั้งสองสำนักจะมีข้อสรุปร่วมกันได้ จนกระทั่งศาสตราจารย์โรเบิร์ต ลูคัส นักเศรษฐศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งศตวรรษรู้สึกเอือมระอาและชี้ให้เห็นว่า พวกเรานักเศรษฐศาสตร์กำลังหลงทางกันอยู่หรือไม่ที่มาให้ความสำคัญกับเรื่องความผันผวนของเศรษฐกิจในระยะสั้น พวกเราควรจะให้ความสนใจกับเรื่องความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (economic growth) ซึ่งเป็นเรื่องของการยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชนในระยะยาวซึ่งมีความสำคัญมากกว่า

Posted in Uncategorized | Leave a comment

ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

เมื่อกล่าวถึงความสำเร็จและล้มเหลวในการพัฒนาทางเศรษฐกิจ พวกเรานักเศรษฐศาสตร์จะอาศัยดัชนีชี้วัดที่เรียกว่า ผลผลิตมวลรวมในประเทศต่อหัว (Gross Domestic Product per capita: GDP per capita) ถึงแม้ว่าจะมีผู้รู้บางท่านออกมาโต้แย้งถึงความเหมาะสมและข้อจำกัดของ GDP percapita แต่เมื่อเราได้ยินคำว่า "ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ" (economic growth) พวกเราจะเข้าใจได้ทันทีว่าหมายถึง "การเพิ่มสูงขึ้นของผลผลิตมวลรวมภายในประเทศที่แท้จริงต่อหัว"
 
นอกจากนั้นนักเศรษฐศาสตร์ยังใช้ GDP per capita หรือ รายได้ประชาชาติต่อหัว (national imcome per capita) เป็นดัชนีในการวัดมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชากรในแต่ละประเทศอีกด้วย มีการประมาณการว่าปัจจุบันรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรบนโลกเท่ากับ $8,000 (ประมาณ 260,000 บาท) ต่อปี นักเศรษฐศาสตร์ชือ Angus Maddison ได้ทำการศึกษาพบว่าเมื่อสองพันปีก่อนรายได้เฉลี่ยของประชากรบนโลกเท่ากับ $515 (ประมาณ 16,737 บาท ต่อปี หรือน้อยกว่า 50 บาทต่อวัน) และยังพบว่าการกระจายรายได้ระหว่างประชากร ณ ขณะนั้นมีความเท่าเทียมกันอย่างมาก จึงหมายความว่าทุกๆคนบนโลกประสบกับความยากจนข้นแค้นอย่างเสมอภาคกัน
 
อย่างไรก็ตามความยากจนอย่างถ้วนหน้านี้ค่อยๆหายไปเมื่อต้นศตวรรษที่ 19 รายได้ต่อหัวของประชากรในยุโรปมากกว่ารายได้ต่อหัวของประชากรในอาฟริกาถึง 3 เท่า ในขณะที่รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรบนโลกเท่ากับ $755 (ประมาณ 24,500 บาท) ต่อปี ซึ่งยังน้อยอยู่มากเมื่อเทียบกับปัจจุบัน จากตัวเลขนี้จะเห็นว่ารายได้เฉลี่ยของคนบนโลกเพิ่มขึ้น 50% ต้องใช้เวลานานถึง 1800 ปี! ซึงเมื่อคิดเป็นอัตราการเจริญเติบโต (growth rate) แล้วน้อยกว่า 0.02% ต่อปีเสียอีก
 
ต่อมาอีก 200 ปีจนถึงปัจจุบันความไม่เท่าเทียมกันในการกระจายรายได้ยิ่งกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ ตัวอย่างเช่น ในปัจจุบันรายได้ต่อหัวของสหรัฐอเมริกาเท่ากับ  $38,000 (ประมาณ 1,235,000 บาท) ต่อปี หรือมากกว่า 30 เท่าของเมื่อ 200 ปีที่แล้ว ในขณะที่รายได้ต่อหัวของประชากรในเอธิโอเปียยังคงเท่าๆกับเมื่อ 200 ปีที่แล้วคือประมาณ $700 ต่อปี เมื่อพิจารณาภาพรวมในระดับโลกพบว่า กลุ่มประเทศยากจน เช่น ประเทศในอาฟริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย และอเมริกากลาง ซึ่งมีประชากรรวมกัน 2,300 ล้านคน มีรายได้ต่อหัวเฉลี่ยเพียงแค่ $2100 ต่อปี ในขณะที่กลุ่มประเทศร่ำรวยในยุโรป อเมริกาเหนือ ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น มี่รายได้ต่อหัวต่อปีมากถึง $30,000อะไรเป็นปัจจัยที่เกื้อหนุนให้เกิดความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ?
 
ศาสตราจารย์ โรเบิร์ท โซโรว์ (Robert Solow) ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในปี คศ 1987 ได้ริเริ่มสร้างแบบจำลองเพื่อศึกษาวิเคราะห์ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจขึ้นซึ่งถูกตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อปี คศ 1956 แบบจำลองนั้นมีชื่อเรียกว่า แบบจำลองความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของโซโรว์ (Solow Growth Model) ในแบบจำลองดังกล่าวได้เสนอสาเหตุความแตกต่างระหว่างรายได้ของประชากรในประเทศร่ำรวยกับประเทศยากจนไว้ดังนี้
 
ประการแรก เราสามารถสังเกตเห็นได้ว่าประชาชนมีเครื่องมือเครื่องใช้ อุปกรณ์และเครื่องจักรในการช่วยทำงานดีกว่าประชาชนในประเทศยากจน ในทางเศรษฐศาสตร์เราเรียกเครื่องมื่อเครื่องใช้และเครื่องจักรเหล่านั้นว่า ทุนกายภาพ (physical capital) ซึ่งก็คือสินค้าและบริการต่างๆที่ถูกผลิตขึ้นมาไม่ใช่เพื่อการบริโภคแต่เพื่อใช้ในการผลิตสินค้าชนิดอื่นๆต่อไป การได้มาซึ่งทุนกายภาพจำเป็นจะต้องผ่านกระบวนที่เรียกว่า "การสะสมทุน" (capital accumulation) โดยผ่านการออมและการลงทุน
 
ประการที่สอง ประชาชนในประเทศร่ำรวยมีระดับการศึกษาที่ดีกว่า จากสถิติของธนาคารโลกพบว่า ประชนชนในประเทศร่ำรวยจำนวนถึง 90% รู้หนังสือ เมื่อเที่ยบกับประชาชนแค่ 58% ที่รู้หนังสือในประเทศยากจน ระดับการศึกษาสูงทำให้ประชาชนในประเทศร่ำรวยสามารถคิดค้นสิ่งประดิษฐ์และแนวคิดใหม่ๆและสามารถนำสิ่งต่างๆเหล่านั้นมาใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ นอกจากระดับการศึกษาแล้วสุขภาพของประชาชนในประเทศก็นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญ ความยืนยาวของอายุโดยเฉลี่ยของคนในประเทศร่ำรวยเท่ากับ 78 ปี ในขณะที่คนในประเทศยากจนมีอายุยืนยาวโดยเฉลี่ยแค่ 58 ปี ยิ่งไปกว่านั้นประชาชนในประเทศยากจนจำนวนมากยังต้องเผชิญกับภาวะขาดสารอาหาร โดยเฉพาะประชาชนในวัยเด็กซึ่งภาวะขาดสารอาหารจะส่งผลต่อการพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้อย่างมาก ด้วยปัจจัยทางด้านการศึกษาและสุขภาพที่กล่าวมาทำให้แรงงานในประเทศร่ำรวยมีคุณภาพสูงกว่าแรงงานในประเทศยากจนมาก ในทางเศรษฐศาสตร์เราเรียกปัจจัยทางด้านแรงงานรวมถึงระดับระดับการศึกษาและสุขภาพของแรงงานว่า "ทุนมนุษย์" (human capital)
 
ประการที่สาม นักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากเห็นตรงกันว่าการคิดค้นและผลิตแนวคิดใหม่ๆเป็นปัจจัยสำคัญที่อยู่เบื้องหลังความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกา ประเทศในยุโรป และ ญี่ปุ่น มีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจก็เพราะประชาชนในประเทศเหล่านั้นประสบความสำเร็จในการคิดค้นแนวคิดใหม่ๆที่ไม่ใช่แค่ใช้ในการผลิตผลลิตใหม่ๆ (เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องจักรไอน้ำ เคมีภัณฑ์ กระแสไฟฟ้า และคอมพิวเตอร์) เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการคิดค้นแนวคิดใหม่ๆที่ช่วยให้สามารถผลิตผลิตชนิดเดิมได้ด้วยต้นทุนทีต่ำลงอีกด้วย เราเรียกกระบวนการคิดค้นและพัฒนาแนวคิดใหม่ๆนี้ว่า "การวิจัยและพัฒนา" (research and development)
 
กล่าวโดยสรุปสาเหตุที่ประเทศต่างๆในโลกมีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันก็เนื่องมาจาก แต่ละประเทศมีสิ่งที่เรียกว่า ทุนกายภาพ (เครื่องมือเครื่องจักร) ทุนมนุษย์ (แรงงานและคุณภาพของแรงงาน) และการวิจัยการพัฒนาที่แตกต่างกัน ดังนั้นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการยกระดับความเป็นอยู่ของประชากรในประเทศยากจนก็คือ รัฐบาลจำเป็นจะต้องมีนโยบายในการส่งเสริมการลงทุนและเพิ่มระดับการออม จัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะทางด้านการศึกษาและสาธารณสุขที่ดี ส่งเสริมการลงทุนทางด้านการวิจัยและพัฒนา ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าพวกเรานักเศรษฐศาสตร์จะพยายามพัฒนาความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์การพัฒนา (economics of development) อย่างจริงจังโดยการปรับปรุงและต่อยอดจากแบบจำลองของโซโรว์  มีการเสนอแนวคิดและทฤษฎีใหม่ๆ จนได้คำตอบถึงสาเหตุของความยากจนและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาเศรษฐกิจ แต่จากข้อเท็จจริงอันน่าเศร้าพบว่าช่องว่างระหว่างรายได้ของประเทศร่ำรวยและประเทศยากจนหลายประเทศโดยเฉพาะประเทศในอาฟริกายิ่งห่างมากขึ้น จนไม่มีวี่แววว่าประเทศยากจนจะไล่ตามประเทศร่ำรวยได้ทัน แต่กระนั้นก็ตามเราก็ยังไม่สิ้นหวัง การศึกษาทางด้านความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจยังถูกจัดเป็นหัวข้อที่สำคัญอันดับต้นๆ ดังจะเห็นได้จากตำราเรียนทางด้านเศรษฐศาสตร์มหภาคใหม่ๆส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับเรื่องความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยจะถูกจัดไว้ในบทแรกๆก่อนหัวข้ออื่นๆ เช่น วัฎจักรธุรกิจ การว่างงาน เงินเฟ้อ และนโยบายการเงินการคลัง ในท้ายที่สุดนี้จะขอยกคำกว่าวของศาสตราจารย์โรเบิร์ต ลูคัส นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลอีกท่านหนึ่งซึ่งเคยกล่าวไว้ว่า "Once one starts to think about economic growth, it is hard to think about anything else."
Posted in Uncategorized | Leave a comment

Star Spangled

Star
Spangled เป็นเพลงชาติสหรัฐอเมริกา แต่งขึ้นโดย ฟรานซิส สก๊อต คีย์
ในปี 1814 โดยเขาได้รับแรงบันดาลใจจากตอนที่เขาเห็นป้อมปราการแมคเฮนรี่ถูกถล่มเสียหายโดยกองราชนาวีแห่งราชอาณาจักรบริเตนในสงครามระหว่างสหรัฐอเมริกากับราชอาณาจักรบริเตน (บริเตนใหญ่และอาณานิคมในอเมริกาเหนือหรือแคนาดา) เมื่อปี 1812

ภายหลังจากสงครามประกาศอิสรภาพของสหรัฐ
อเมริกาต่อสหราชอาณาจักร
สิ้นสุดลงเมื่อปี 1783 ความขัดแย้งระหว่างประเทศทั้งสองยังคงมีสืบเนื่องต่อมาทั้งในเรื่องดินแดน
และการค้า
สาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดสงคราม
เมื่อ
ปี 1812 คือในขณะนั้นราชอาณาจักรบริเตนกำลังอยู่ในภาวะสงครามกับราชอาณาจักรฝรั่งเศสซึ่งเป็นมหาอำนาจคู่แข่งในสงครามนโปเลียนซึ่งปะทุขึ้นในยุโรประหว่างปี 1803-1815
ระหว่างนั้นสหราชอาณาจักรพยายาม
ปิดกั้นการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและราชอาณาจักรฝรั่งเศส โดยสหรัฐอเมริกาอ้างว่าตนเองเป็นกลางและเห็นว่าการปิดกั้นดังกล่าวไม่เป็นธรรมและผิดกฎหมายระหว่างประเทศ
ในทางตรงกันข้ามราชอาณาจักรบริเ
ตน
มองว่าแม้สหรัฐอเมริกาจะประกา
ศว่า
ตนเป็นกลางแต่ก็ทำตัวเป็นภั
ยคุก
คามต่อตนโดยการไม่ให้ความร่
วมมือ
ในการปิดล้อมการค้าต่อฝรั่
งเศส
และการค้ากับฝรั่งเศสนั้นเป
็นการ
ให้ความช่วยเหลือฝรั่งเศสท
างอ้อม

สงคราม
เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 1812 สหรัฐอเมริกายกกองกำลังสองพันนา
ยข้ามแม่น้ำดีทรอยท์เข้าไปยึดเมืองแซนด์วิชในแคนาดา
กองทัพราชอาณาจักรบริเตนจึงทำกา
รโต้
กลับอย่างหนักหน่วง ในขณะนั้นราชอาณาจักรบริเตนเป็น
มหาอำนาจของโลก
ในขณที่สหรัฐอเมริกาเพิ่งเป็นปร
ะเทศ
เกิดใหม่ ราชอาณาจักรบริเตนมีอำนาจทางการ
ทหารเหนือกว่ามากอีกทั้งสหรัฐอเมริกายังมีความขัดแย้งกันเองภายในอีกด้วย
(มลรัฐนิวอิงแลนด์คัดค้านสงคราม
และ
ปฎิเสธที่จะส่งทหารและเงินทุ
นมา
ช่วยรบ) กองกำลังราชนาวีของราชอาณาจักรบ
ริเตนสามารถปิดกันแนวชายฝั่งของสหรัฐอเมริกาได้อย่างสมบูรณ์ซึ่งรวมถึงการค้าและการส่งออกสินค้าของสหรัฐอเมริกาได้อย่างสิ้นเชิง ยิ่งไปกว่านั้นกองกำลังของราชอาณาจักรยังสามารถบุกเ้ข้าไปโจมตีเมืองสำคัญๆตามแนวชายฝรั่งซึ่งรวมถึงกรุงวอชิงตันดีซีอันเป็นเมืองหลวงของสหรัฐอเมริกาอีกด้วย
สถานที่ราชการสำคัญหลายแห่งในกร
ุงวอชิงตัน
ดีซีรวมถึง "ทำเนียบขาว" อันเป็นสัญลักษณ์และศูนย์กลางกา
รปกครองของสหรัฐอเมริกาได้ถูกเผาราบเป็นหน้ากลอง เหตุการณ์
"เผากรุงวอชิงตันดีซี" นี้สร้างความเจ็บช้ำให้แก่อเมริ
กันชนยิ่งนัก

ในสมรภูมิบัลติมอร์
มลรัฐแมรี่แลนด์ ณ ป้อมปราการแมคเฮนรี่ ริมชายฝั่ง ฟรานซิส สก๊อต
คีย์สังเกตเห็นว่า ถึงแม้กองทัพราชนาวีบริเตนจะระด
มยิงปืนใหญ่เข้าถล่มหามรุ่งหามค่ำเท่าใด แต่ธงชาติสหรัฐอเมริกา (Star
Spagled Banner Flag ซึ่งมีดวงดาว 15 ดวงและลายคาดขวางมีลักษณะคล้ายก
ับธงชาติสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน) ยังคงดำรงเด่นและปลิวไสวอยู่บนป้อมปราการแมคเฮนรี่
จึงเป็นแรงบันดาลใจให้เขาแต่งเพ
ลง
Star Spangled ซึ่งต่อมาถูกใช้เป็นเพลงชาติขอส
หรัฐอเมริกาตราบจนทุกวันนี้
ปัจจุบันธงผืนดังกล่าวยังคงถูกเ
ก็
บรักษาไว้ในพิพิธพันธ์สมิธโซเ
นี่
ยนในกรุงวอชิงตันดีซี

ปล. ผู้เขียนได้มีโอกาสเดินทางไปชมธงชาติผืนดังกล่าวเมื่อครั้งเดินทางไปเที่ยววอชิงตันดีซี
ภายในพิพิธพันธ์มีนิทรรศการบอกเ
ล่า
เรื่องราวความเป็นมาของเพลงช
าติ
สหรัฐอเมริกา และมีการกล่าวถึงสาเหตุของสงครา
มในทำนองว่า
สหรัฐอเมริกาจำเป็นต้องต่อสู้เพ
ื่อ
ต่อต้านการข่มเหงรังแกอย่างไ
ม่เป็น
ธรรมโดยราชอาณาัจักรบริเต

ในสายตาของอเมริกันชนบางคนถึงกั
บมอง
ว่าสงครามปี 1812 นี้เป็น สงครามประกาศอิสระภาพครั้งที่สอ
งเลยทีเดียว
แต่ต่อมาหลังจากนั้นไม่นานผู้เข
ียน
ก็ได้อ่านบทความท่องเที่ยวกร
ุงวอชิงตัน
ดีซีบนเว็บไซท์บีบีซี
ของ
อังกฤษ โดยมีการเล่าถึงประวัติศาสตร์ขอ
งกรุงวอชิงตันดีซีว่า
กองทัพอังฤษเคยเผากรุงวอชิงตันด
ีซี
เสียราบเป็นหน้ากลองเพื่อเป็
นการ
ตอบโต้สหรัฐอเมริกาที่เข้าโ
จม
ตีดินแดนอาณานิคมของตนในแคนาด
าก่อน
(บทเรียนเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ประวัติศาสตร์มีสองด้านเสมอ
แล้วแต่ว่าใครเป็นผู้เขียน)

Posted in Uncategorized | Leave a comment

Omega Speedmaster the Legend

In tribute to the world legendary F1 champion Michael Schumacher who won his five consecutive titles in 2004, Omega SA launched this watch model called Speedmaster the Legend. It is limited edition which was available only 6,000 pieces world-wide. My watch in this picture is numbered 2057/6000. Inside its 42mm stainless steel case, this chronograph time piece contains self-winding Omega caliber 3301 movement which is produced by Frederic Piguet the world renowned watchmaker. Other than Omega and Frederic Piaguet, this movement also functions in other luxuary watch brands like Blancpain. I proudly present this watch from my time-piece collection.
Posted in Uncategorized | Leave a comment

คำประกาศอิสระภาพของสหรัฐอเมริกา

ในทรรศนะของรุสโซ
มนุษย์ในสภาวะธรรมชาตินั้นมีความเสมอภาคและมีสิทธิเสรีภาพอย่างเต็มที่
แต่อารยะธรรมก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมและการเปรียบเทียบ
และการกลับคืนสู่สภาวะธรรมชาตินั้นเป็นไปไม่ได้หรือไม่เป็นที่ต้องการ
มนุษย์จึงต้องหาวิธีประนีนอมประนอมด้วยการอยู่ร่วมกันอย่างมีเสรีภาพโดยทุก
คนในสังคมยอมเสียสละสิทธิและเสรีภาพของตนบางส่วนให้แก่รัฐ
…เมื่อทุกคนยินยอมที่จะเชื่อฟังรัฐจึงเท่า กับเป็นการเชื่อฟัง ตนเอง
และรัฐสามารถถูกล้มล้างได้หากใช้อำนาจผิดไปจากเจตจำนงของสังคม
ทฤษฎีสัญญาประชาคมของรุสโซมีอิทธิพลอย่างมากต่อ
"คำประกาศอิสรภาพของประเทศสหรัฐอเมริกา" ดังที่ได้ระบุไว้ว่า

“พวก เราถือว่าความจริงเหล่านี้มีความชัดเจนในตัวของมันเอง
ความจริงที่ว่ามนุษย์ทุกคนถูกสร้างมาให้มีความเท่าเทียมกัน (ALL MEN ARE
CREATED EQUAL) ความจริงที่ว่าพวกเขาได้รับมอบสิ่งต่างๆจากผู้สร้าง
พร้อมด้วยสิทธิที่ไม่อาจพรากไปจากพวกเขา อันได้แก่ สิทธิในชีวิต อิสรภาพ
และ การแสวงหาความสุข ดังนั้นเพื่อที่จะประกันสิทธิเหล่านี้
รัฐบาลได้รับการจัดตั้งขึ้นในหมู่ผู้คน
โดยพวกเขาได้รับการยินยอมให้ใช้อำนาจปกครอง เมื่อใดที่รัฐบาลชุดใด
ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบลักษณะใดก็ตามแต่
ได้กลับกลายมาเป็นผู้ที่บ่อนทำลายสิ่งเหล่านี้ซะเอง
ประชาชนก็มีสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงหรือล้มรัฐบาลนี้
และที่จะจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ ที่วางอยู่บนรากฐานของหลักการเช่นว่านั้น
และจัดระบบอำนาจของรัฐบาลในรูปแบบลักษณะที่ปรากฏให้เชื่อได้ว่า
จะก่อให้เกิดความปลอดภัยและความสงบสุขต่อพวกเขา
ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้”

คำประกาศอิสระภาพของสหรัฐ อเมริกาได้พัฒนา
มาเป็นรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา
โดยได้ขึ้นชื่อว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่มีอายุใช้งานยืนยาวที่สุดในโลก
และถือว่าเป็นต้นแบบของรัฐธรรมนูญให้กับอีกหลายประเทศทั่วโลก

Posted in Uncategorized | Leave a comment

“We choose to go to the moon”

"We choose to go to the moon in this decade and do the other things, not because they are easy, but because they are hard"

In this 1962 speech given at Rice University in Houston, President John F. Kennedy reaffirmed America’s commitment to landing a man on the moon before the end of the 1960s.

In celebration of the 40th anniversary of the moon landing, Omega introduced this commercial as Buzz Aldrin wore his Omega Speedmaster Professional on the moon, on 20 July 1969, making it the first watch worn on the moon. Util this day, the Omega Speedmaster Professional, also known as the moonwatch, is the only watch flight-qualified by NASA.

YouTube – OMEGA Speedmaster commercial
  

Posted in Uncategorized | Leave a comment

My Rolex Explorer

When George Mallory was asked why he wanted
to climb Everest, “Because it’s there” replied he. Unfortunately, he
lost his life on the mountain in 1924…

Not until 29 May 1953
did Sir John Hunt, the New-Zealand explorer Sir Edmund Hillary and
Sherpa Tenzing Norgay take thier first steps on the roof of the world.
In tribute to this historic feat, Rolex officially launch the Explorer
model.

YouTube – Rolex Explorer commercial

 

Posted in Uncategorized | Leave a comment

The god delusion

Does god really exist? Do we need god in order to be good and moral?

I have read "The God Delusion", a 2006 best selling, written by Richard Dawking. This book gave me the answers to the questions above.

Briefly, the author focuses on many agruments against the existence of god. Firstly, the god did not create human. Instead, we went through very long-time evolution. According to the natural selection hypothesis by Charles Darwin, it is believed that we develop from primates.

Secondly, god did not create the universe. Our present technology can take the pictures of the born of the universe. Nowadays scientists can explain how the universe was born and evolved without the super natural being. If interested, you can watch the lecture given by Prof Hawking, a famous cosmology theorist of Cambridge University, at http://www.youtube.com/watch?v=nFjwXe-pXvM

Finally, the author agrues that, without god, we humans still need to be good and moral. Because reputation is necessary for us to live, survive, and succeed in our social, we try to be good and moral to get reputed. According to the game theory, cooporation among people always take places. In spite of the fact that we all are intrinsically selfish, we help others because we want to be reciprocated. Not only is this behavior observed in the human social, it also happens in the animal social which is less complex.

Summarily, base on our knowlege in sciences and the natural selection, god did not create human and the universe. According to the game theory, one does not need god in order to be a good guy. These facts leave no places for god to exist.

PS. Just add one more thing. I found the following ironic quote on the internet:

Religion has actually convinced people that there’s an invisible man – living in the sky- who watches everything you do, every minute of every day. And the invisible man has a special list of ten things he does not want you to do. And if you do any of these ten things, he has a special place, full of fire and smoke and burning and torture and anguish, where he will send you to live and suffer and burn and choke and scream and cry forever and ever ’til the end of time … But He loves you!

George Carlin

Which is translated to Thai that

จริง ๆ แล้วศาสนาทำให้คนเราเชื่อว่ามีชายล่องหนอยู่คนหนึ่ง -อาศัยอยู่บนฟ้า- มองเห็นทุกอย่างที่คุณทำ ทุกวันและเวลา และชายล่องหนคนนี้ได้วางกฎที่เขา ไม่อยากให้คุณละเมิดขึ้นมา สิบข้อ, และถ้าคุณละเมิดกฎข้อใดก็ตามใน สิบข้อนี้, เขามีสถานที่พิเศษ, ที่มีเต็มไปด้วยไฟ และควัน และการย่างสด และการทรมาน และความเจ็บปวด, เป็นที่ซึ่งเขาจะส่งคุณไปทนทุกข์ จากการถูกเผา และสำลักควัน และกรีดร้อง และคร่ำครวญตลอดชั่วนิจนิรันดร์ จวบจนจุดสิ้นสุดของกาลเวลา …แต่ เขารักคุณนะ!

จอร์จ คาร์ลิน

Posted in Uncategorized | Leave a comment

Che Guevara the immortal revolutionist

เชกูวาราถือกำเนิดในอาเจนตินาในครอบครัวที่มีฐานะดี
เข้าศึกษาทางด้านการแพทย์ในบัวโนสไอเรส
ระหว่างนั้นเชลาพักการศึกษาเพื่อท่องเที่ยวไปทั่วอเมริกาใต้ด้วยรถ
มอเตอร์ไซด์
เชได้พบเห็นความลำบากและความยากจนข้นแค้นของประชาชนในลาตินอเมริกาซึ่งในขณะ
นั้นประเทศต่างๆถูกปกครองโดยรัฐบาลเผด็จการทหารที่ถูกครอบงำโดยสหรัฐฯ

หลังจากกลับมาเรียนต่อจนจบ ด้วยจิตวิญญาณนักปฎิวัติ
เชเข้าร่วมการปฎิวัติโค่นล้มรัฐบาลเผด็จการที่ได้รับการหนุนหลังจากสหรัฐฯ
หลายต่อหลายครั้งในหลายประเทศในอเมริกาใต้ รวมถึงเข้าร่วมกับฟิเดล
คาสโตรในการทำสงครามกองโจรทำการปฎิวัติโค่นล้มประธานาธิดีบาติสต้าแห่งคิวบา
หลังจากนั้นเชได้ร่วมกับ ฟิเดล คาสโตร สร้างชาติคิวบาขึ้นมาใหม่
โดยเชเป็นหมายเลขสองของประเทศรองจากคาสโตร เชรับตำแหน่งสำคัญในรัฐบาล
ไม่ว่าจะเป็นนักการทูต รัฐมนตรีคลัง ผู้ว่าการธนาคารกลาง
แต่ด้วยวิญญาณแห่งการปฎิวัติที่ไม่เคยมอดไหม้ไปกับยศฐาบันดาศักดิ์
เขาเดินทางออกจากคิวบาเพื่อเข้าร่วมกับกบฎโบลิเวียเพื่อทำสงครามกองโจรโค่น
ล้มรัฐบาลเผด็จการ ณ
ขณะนั้นสหรัฐฯมองว่ามองว่าเชเป็นศัตรูตัวฉกาจที่จะต้องกำจัดทิ้ง
ในที่สุดวาระสุดท้ายของเชก็มาถึงเมื่อเขาได้รับบาดเจ็บจากการสู้รบและถูกจับ
กุมโดยรัฐบาลโบลิเวียด้วยความช่วยเหลือของ CIA

ก่อนที่เชจะถูกฆ่า เขาถูกถามว่าเขาคิดว่าเขาเป็นอมตะหรือไม่ เชตอบว่า
“ไม่” “ฉันกำลังคิดถึงความเป็นอมตะของการปฎิวัติ”
เมื่อทหารนายหนึ่งเดินเข้ามาในกระท่อม เชบอกกับเขาว่า
“ฉันรู้ว่าแกมาเพื่อฆ่าฉัน ยิงสิ ไอ้ขี้ขลาด!”
เพชฌฆาตลังเลแล้วจึงเริ่มเปิดฉากยิง กระสุนโดนที่ขาและแขนของเช
เขาล้มลงดิ้นกับพื้น
แต่ก็พยายามกัดข้อมือของตัวเองเพื่อไม่เปล่งเสียงร้องออกมา
เพชฌฆาตจึงต้องยิงซ้ำอีกหลายนัด เชโดนยิงรวมทั้งสิ้นเก้านัด (ห้านัดที่ขา
ที่ไหล่ขวา แขนขวา อก และคอ แห่งละหนึ่งนัด) เชถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 9
ตุลาคม 1967 กระดูกของเขาถูกส่งให้กับประเทศคิวบาเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม
1997 โดยได้รับการต้อนรับอย่างสมเกียรติเยี่ยงวีรบุรุษของชาติ

Posted in Uncategorized | Leave a comment